หน้าเว็บ

วันศุกร์ที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2560


เรื่อง มะพร้าวชาวสวน..
        ขอขอบคุณภาพจาก Google
      ชนิดและพันธุ์มะพร้าว
     มะพร้าวเป็นพืชปลูกก้นมาเป็นเวลานานทั่วเขตร้อนของโลก จึงมีความแตกต่างกันในรูปทรง และลักษณะอื่นๆ อย่างหลากหลาย มีนักพฤษศาตร์หลายท่านพยายามจำแนกพันธ์มะพร้าวที่ปลูกกันออกเป็นหมวดหมู่ แต่ก็ยังไม่เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป ซึ่งในการจำแนกพันธ์มะพร้าวออกเป็นหมวดหมู่นั้นใช้การพิจารณาลักษณะต่างๆที่สำคัญ 3 ประการคือ การเจริญเติบโตของลำต้น อายุที่มะพร้าวเริ่มตกผล และลักษณะการบานของดอก ซึงจากหลักเกณฑ์ทั้ง 3 ข้อนี้ สามารถจำแนกพันธ์มะพร้าวได้คร่าวๆ เป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ มะพร้าวพันธ์ต้นสูง และ มะพร้าวต้นเตี้ย

     ความหมายของพันธุ์ต่างๆ   
ขอขอบคุณภาพจาก Google
   
    กลุ่มที่ 1 : พันธุ์ต้นสูง ออกผลช้า มีสะโพกผสมข้าม

เริ่มให้ผลิตหลังจากปลูกแล้ว 5-7 ปี (ขึ้นอยู่กับการดูแล) ลักษณะเด่นของพันธุ์คือ ดอกเกสรของตัวทำการผสมกันข้ามต้น โดยมะพร้าวในกลุ่มนี้ ได้แก่ มะพร้าวหัวลิง ทะลายร้อย ปากจกเปลือก หวาน กลาง ซอ ใหญ่

ขอขอบคุณภาพจาก Google

     กลุ่มที่ 2 : พันธุ์ต้นเตี้ย ออกผลเร็ว ไม่มีสะโพก ผสมตัวเอง

มะพร้าวกลุ่มนี้ความสูงของต้นจะอยู่ประมาณ 12 เมตร ทางใบสั้น ให้ผลผลิตเร็วประมาณ 12 เมตร ทางใบสั้น ให้ผลผลิตเร็วประมาณ 3-4 ปีหลังปลูก ผลผลิตค่อนข้างดกแต่มีขนาดเล็ก อายุให้ผลราว 35-40 ปี ด้านการผสมเกสรดอกตัวเมียและตัวผู้จะบานในระยะเวลาเดียวกันและสามารถผสมเกสรภายในต้นเดียวกันได้ ส่วนใหญ่นิยมปลูกไว้เพื่อรับประทานผลอ่อนเพราะเนื้อมีลักษณะอ่อนนุ่ม และน้ามีรสชาติหวานบางพันธุ์น้ามีคุณสมบัติพิเศษ คือ มีกลิ่นหอม โดยมะพร้าวในกลุ่มนี้ ได้ นกคุ้ม น้าหอม หมูสีเขียว น้าหวาน ทุ่งเคล็ด พวงร้อย พวงทองหมูสีเหลืง นาฬิเก หมูสีน้าตาล ไฟ หมูสีส้ม ปะทิว


   ขอขอบคุณภาพจาก Google

       ราก เป็นรากหลักขนาดเท่าๆ กันแผ่กระจายจากโคลนต้นลึกจากผิวดินประมาณ 50-90 เซนติเมตร และมีรากย่อยซึ่งที่ปลายรากย่อยจะมีหมวกรากใช้ในการดูดน้าและธาตุอาหาร นอกจากนี้ยังมีรากอากาศนำอากาศจากด้านบนไปสู่รากที่อยู่ใต้ดินทำให้มะพร้าวเจริญเติบโตบริเวณเริ่มตลิ่แม่น้า คลอง หรือทนน้าท่วมได้ระดับหนึ่ง

ขอขอบคุณภาพจาก Google

        ลำต้น มีลำต้นเดียว ไม่แตกต่างแขนงหรือมีตาข้าง แต่มีตายอดเพียงตาเดียวที่เจริญเติบโตเพิ่มขนาดความสูง ภายในลำต้นไม่มีเนื้อเยื่อใหม่ เมื่อเกิดแผลจะไม่สามารถรักษาแผลได้ซึ่งรอยแผลจากการหลุดร่วงของใบตลอดลำต้นทำให้สามารถคำนวณอายุของต้นมะพร้าวได้ (จำนวนรอยแผล+ใบปัจจุบัน 7 12 หรือ 14 = อายุต้น) ซึ่งมะพร้าวน้าหอมมีลำต้นสูงประมาณ  8-10 เมตร ส่วนมะพร้าวส่วนมะพร้าวต้นสูงจะสูงได้ถึง 15-20 เมตร

                                   ขอขอบคุณภาพจาก Google

        ใบ ประกอบด้วยก้านใบหรือทางใบ และใบย่อย บนก้านทาง ประมาณ 200-300 ใบ ใน 1 รอบต้นจะมีใบอยู่ ประมาณ 5 ใบ ซึ่ง 1 ทรงฟุ่มใบมะพร้าวแต่ละความสมบูรณ์

                                   ขอขอบคุณภาพจาก Google

                ช่อดอกหรือจั่น มะพร้าวเป็นพืชที่มีดอกตัวผู้และดอกตัวผู้และดอกตัวเมียอยู่ในต้นเดียวกัน และเกิดในช่องดอกเดียวกัน เรียกว่า จั่น ประกอบด้วยแกนช่อดอกและก้านย่อย หรือระแง้ หรือ มีกาบ 2 แผ่น หุ้มอยู่
ช่อดอกมะพร้าวประกอบด้วยดอก 3 ประเภทที่เรียงตัวอยู่บนก้านย่อย คือ

    1. ดอกตัวผู้ อยู่ส่วนปลายของก้านย่อย มี สีเหลืองอ่อน ภายในดอกมีเกสรตัวผู้ และมีเกสรตัวเมียที่ไม่ทำหน้าที่

    2. ดอกตัวเมีย เรียกว่า button อยู่ส่วนโคลนของก้านย่อย ประกอบด้วยบริเวณที่ดอกติดกับก้านชิ่ดอกมีกลีบที่กว้างและสั้นอีก 2 กลีบรองรับอยู่ภายในดอกมีเกสรตัวเมีย  และรังไข่ ประกอบด้วย 3 คาร์เพล

    3. ดอกรวมเพศ  มีทั้งเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียที่สมบูรณ์อยู่ในดอกเดียวกัน



ขอขอบคุณภาพจาก Google

                ผล ผลเกิดเป็นช่อเรียกว่า ทะลาย ผลเป็นแบบ ประกอบด้วยเนื้อเยื่อ 3ชั้น คือ

: เปลือกนอกสุด เป็นแผ่นบางแข็ง เหนียว ผิวมันเมื่อแก่จะมีสีเขียว แดง เหลือง น้าตาล ต่างกันไปตามพันธุ์

: เปลือกชั้นกลาง เป็นชั้นส้นใย มีความหนาพอประมาณ

: เปลือกชั้นใน มีลักษณะแข็งหรือที่รียกกันว่า กะลา


ขอขอบคุณภาพจาก Google


           เมล็ด คือ ส่วนของผลที่อยู่ในกะลา ประกอบด้วยเยื่อหุ้มเมล็ด บางๆสีนํ้าตาลม่วง เนื้อมะพร้าว นํ้ามะพร้าว และคัพภะ เมื่อคัพภะงอก ใบเลี้ยงจะพองโตคล้ายฟองนํ้า เรียกว่า จาว 


ขอขอบคุณภาพจาก Google


      ปัจจัยสภาพแวดล้อม
      ประเทศไทยนับว่าเป็นประเทศที่มีสภาพอากาศและพื้นที่เหมาะกับการปลูกมะพร้าว เพราะมะพร้าวจัดเป็นผลไม้ที่เติบโตได้ดีในเขตร้อยชื้นซึ่งนอกจากเรื่องของสภาพอากาศ หลักทั่วไปในการเลือกปลูกมะพร้าวควรคำนึงถึงปัจจัยแวดล้อมต่างๆ ดังนี้

ขอขอบคุณภาพจาก Google

          สภาพดิน :
       โดยทั่วไปมะพร้าวสามารถปลูกได้ในดินเกือบทุกชนิด แต่ที่ได้ผลดีคือ ดินร่วน ดิร่วนผนทรายหรือดินที่มีการระบายน้าได้ดี ดินตะกอนปากแม่น้า ดินที่ไม่มีน้าขัง นอกจากนั้นต้องคำนึงถึงลักษณะพื้นที่ประกอบด้วย เช่น
-        การปลูกในที่ลุ่มและที่ดอน มะพร้าวสามารถปลูกเจริญเติบโตได้ดีบนที่ดอนมากกว่าที่ลุ่มเพราะมีการระบายน้าในดินได้ดี โดยการปลูกอาจทำในลักษณะการปลูกแบบไร่ แต่การที่จะปลูกมะพร้าวในที่ลุ่มให้ได้ผลจึงนิยมปลูกด้วยวิธีการยกเป็นคันร่องให้ได้สูงพ้นระดับน้าขัง สูงกว่าระดับน้าในฤดูน้าหลาก หรือประมาณ 60 เซนติเมตร หรือปลูกแบบยกร่องสวน
-       ดินดาน ดินที่มีชั้นหินแข็งหรือดินดานอยู่ลึกจากผิวดินน้อยกว่า 1 เมตร ไม่ควรปลูกมะพร้าว หรือหากต้องการปลูกก็ต้องลงทุนในการปรับพื้นที่สูง
-        ดินไม่ดี หรือดินที่มีความสมบูรณ์น้อยหากต้องการปลูกในพื้นที่เช่นนี้ควรมีการเก็บตัวอย่างดินวิเคราะห์และปรับปรุงพื้นที่ก่อนปลูกเพื่อให้ได้ผลผลิตที่ดีคุ้มค่าแก่การลงทุน

ขอขอบคุณภาพจาก Google

        แหล่งน้า :
การปลูกมะพร้าวส่วนใหญ่จะเน้นการปลูกด้วยการพึ่งพาธรรมชาติ ดังนั้น “ฝน” จึงถือเป็นปัจจัยสำคัญ โดยปริมาณน้าผนที่พืชต้องการจะต้องไม่น้อยกว่า 1,500 มิลลิลิตร/ปี แต่หากพื้นที่ไหนมีผนตกน้อยกว่า 50 มิลลิลิตร/เดือน หรือแล้งติดต่อกัน 3 เดือนจะส่งผลให้มะพร้าวออกผลผลิตน้อย
        อากาศ/อุณหภูม:
       อุณหภูมิของอากาศที่เหมาะสมอยู่ระหว่าง 20-29 องศาเซียส เช่น ภาคใต้ ภาคกลาง และ ภาคตะวันออก ทางด้านระดับความสูงของพื้นที่ก็ส่งผลถึงอุณหภูมิเพราะหากเป็นที่บนภูเขาที่สูงกว่าระดับน้าทะเล เกิน 600 เมตรขึ้นไป และมีอากาศหนาวเย็นอุณหภูมิต่ากว่า 15 องศาเซลเซียสจะไม่เหมาะกับการปลูกมะพร้าวเพราะจะได้ผลผลิตต่า
        นอกจากนี้ยังมีเรื่องความชื้นสัมพัทธ์ สำหรับพื้นที่ทั่วไปควีอยู่ประมาณ 80-90% หรือหากเป็นพื้นที่ชายฝั่งทะเลความชื้นจะประมาณ 75% แต่ไม่ควรต่ากว่า 60% เพราะจะส่งผลกระทบเรื่องผลผลิตและอาจทำให้เกิดโรค เช่น โรคตาเน่า

ขอขอบคุณภาพจาก Google

        สถานที่ปลูกใกล้ไกลจากชายฝั่งทะเล:
       พื้นที่ที่อยู่ใกล้ทะเลจะได้อิทธิพลด้านความชื้ในชั้นบรรยายกาศที่สม่าเสมอ ประกอบกับน้าทะเลมีธาตุอาหารหลายชนิด เช่น โซเดียม และคลอรีน เป็นสารประกอบที่มะพร้าวเป็นพืชทนเค็มได้พอสมควรจึงสามารถนำธาตุอาหารไปใช้ประโยชน์ได้

ขอขอบคุณภาพจาก Google

การปลูก
การเตรียมพันธุ์ก่อนลงแปลงปลูก
หลังจากคัดเลือกผลลัพธุ์ที่สมบูรณ์แล้ว ขั้นตอนการนำพันธ์มะพร้าวไปเพาะปลูก ทำได้ 2 วิธี ดังนี้


ขอขอบคุณภาพจาก Google


        1.ให้ต้นงอก
        เริ่มจากเลือกผลมะพร้าวแก่ผิวเป็นสีก้ามปูที่สมบูรณ์ ผลไม่แตก ไม่มีโรคแมลงรบกวน เก็บเกี่ยวมาพักไว้ในพื้นที่ที่อากาศถ่ายเท อยู่ในที่ร่ม และไม่ควรเก็บรักษาไว้นานเกิน 1 เดือน นำผลมะพร้าวมาปาดเปลือกด้านหัวออก (ประมาณเท่าผลส้มเขียวหวาน) เพื่อให้น้าซึมเข้าไปได้สะดวกในระหว่างที่ทำการเพาะ จากนั้นหากมีขุยมะพร้าว หรือขี้เถ้าแกลบให้มิดและรดน้าให้วัสดุเพาะยุบตัวลงเหลือความสูงประมาณ 2/3 ของผล จากนั้นคอยรดน้าควบคุมความชื้น เพื่อช่วยให้ผลสามารถแทงหน่อได้ดี ประมาณ 20 วัน ไปแล้วผลมะพร้าวจะเริ่มแทงหน่อ

ขอขอบคุณภาพจาก Google

        2.การเพาะชำหน่อ
        การเพาะวิธีนี้จะต้องเลือกหน่อที่มีความสมบูรณ์ตามอายุ และหน่อโผล่พ้นรอยเฉือนลูกมะพร้าวขึ้นมาประมาณ 1-3 นิ้ว จากนั้น เตรียมแปลงเพาะชำ ด้วยการไถหรือขุดดินให้มีความลึกประมาณ 20 เซนติเมตร (หรือลึกประมาณ 2/3 ของผล) x ความกว้าง 2 เมตร หรือตามความเหมาะสมของพื้นที่ นำผลมะพร้าวที่มีหน่องอกแล้ววางเรียงลักษณะแถวสลับฟันปลา เว้นระยะห่างระหว่างผล ประมาณ 40-50 เซนติเมตร จากนั้นกลบดินความสูงประมาณ 2/3 ผลให้ทั่วแปลง แล้วให้ใช้หญ้าแห้ง ฟาง หรือทางมะพร้าวคลุมแปลงเพาะเพื่อป้องกันความชื้น และควรหมั่นรดน้าไม่ให้แปลงเพาะชำแห้ง
        สำหรับการเพาะด้วยวิธีการเพาะชำหน่อจะมีข้อด้อย คือ หากผลมะพร้าวมีรากแทงลงดินแล้วการเคลื่อนย้ายไปปลูกในแปลงปลูกจะทำให้ต้นมะพร้าวชะงักการเจริญเติบโต แต่ข้อดีคือ สามารถเก็บหน่อไว้ได้นาน


        การคัดเลือกหน่อพันธุ์ :

        มะพร้าวที่มีขนาดใกล้เคียงกันจะมีการเจริญเติบโตไล่เลี่ยกัน แต่อาจมีความสมบูรณ์ต่างกันดังนั้นการเลือกหน่อพันธ์ควรเลือกหน่อทีมีความสมบูรณ์ ต้นตรงไม่คด โคนหน่ออวบ ลักษณะใบ แผ่กว้าง สีเขียวเข้ม ก้านทางสั้นใหญ่ ไม่มีโรคและแมลงทำลาย เป็นต้น

ขอขอบคุณภาพจาก Google


        การเตรียมพื้นที่ :
        การเตรียมพื้นที่ในการปลูกมะพร้าวจะต้องมีการไถปรับพื้นที่ให้โล่งเตียน ไม่มีวัชพืชหรือตอไม้ส่วนพืชที่ลุ่มหรือมีน้าท่วมขังควรใช้วิธีการปลูกแบบยกร่อง โดยให้คันร่องสูงไม่น้อยกว่า 60 เซนติเมตร ส่วนการปลูกมะพร้าวในพื้นที่ที่มีความลาดชันมากๆควรปลูกในลักษณะขั้นบันได และต้องมีการปลูกพืชกันดินพังทลายด้วย

ขอขอบคุณภาพจาก Google

        ระยะปลูก :
        หากเป็นการปลูกมะพร้าวหรือมะพร้าวต้นสูงควรเว้นระยะห่าง 8.50-9 เมตร ส่วนมะพร้าว ต้นเตี้ยนิยมใช้ระยะห่าง 6.5 6.5 เมตร โดยระยะห่างระหว่างแถวสามารถปลูกแบบสี่เหลี่ยมจัตุรัส และสามเหลี่ยมด้านเท่า แต่ข้อดีของการปลูกแบบสามเหลี่ยมด่านเท่าจะได้จำนวนต้นมากกว่าการปลูกแบบสามเหลี่ยมจัตุรัสประมาณ 15% โดยการเว้นระยะปลูกแบบสามเหลี่ยมด้านเท่า มีดังนี้
        ระยะห่างระหว่างต้น 9 เมตร ระยะห่างระห่างแถว 7.80 เมตร (จำนวน 22 ต้น/ไร่)
        ระยะห่างระหว่างต้น 8.50 เมตร ระยะห่างระหว่างแถว 7.36 เมตร (จำนวน 25 ต้น/ไร่)
        ระยะห่างระหว่างต้น 6.50 เมตร ระยะห่าง ระหว่างแถว 5.63 เมตร (จำนวน 43 ต้น/ไร่)


ขอขอบคุณภาพจาก Google


การเตรียมหลุมปลูก :
        การปลูกมะพร้าวในพื้นที่ดินมีความอุดมสมบูรณ์น้อยหรือที่ดอนให้ขุดหลุมขนาดกว้าง 1 เมตร x ความยาว 1 เมตร x ความลึก 1 เมตร ส่วนในพื้นที่ลุ่มหรือพื้นที่ดินอุดมสมบูรณ์สามารถขุดหลุมเล็กลงมา (ขนาดใหญ่กว่าลูกมะพร้าวเล็กน้อย)

ขอขอบคุณภาพจาก Google

        วิธีการขุดหลุม : 
        ควรเริ่มทำในช่วงฤดูแล้งโดยการขุดเอาดินผิวไว้ด้านหนึ่งแยกดินชั้นล่างไว้อักด้านหนึ่ง หลังจากนั้นตากดินไว้ประมาณ 7 วัน เมื่อครบกำหนดให้หาเศษไม้มาเผาที่ก้นหลุมเพื่อช่วยป้องกันปลวก จากนั้นรองก้นหลุมด้วยกาบมะพร้าว 2 ชั้น (อัตราส่วน1 ปี/หลุม หรือ ร็อกฟอสเฟตครึ่งกิโลกรัม/หลุม) จากนั้นใส่ดินและปุ๋ยที่ผสมกันแล้วจนเต็ม หลุม ปล่ยทิ้งไว้จนถึงฤดูปลูก


ขอขอบคุณภาพจาก Google

        วิธีการปลูก
        ควรเริ่มปลูกในฤดูฝนตกใหญ่แล้ว 2 ครั้งโดยการนำหน่อ (ลูกมะพร้าวที่มีต้นงอกมาและมีรากแล้ว) วางลงในหลุม เอาดินกลบและเหยียบด้านข้างๆ ให้แน่น ซึ่งการกลบดิน ไม่ควรกลบสูงมากเกินไปเพราะดินจะทั้บคอหน่อมะพร้าวและทำให้มะพร้าวเติบโตช้า หรือ ควรปลูก่ากว่าปากหลุม 15 เซนติเมตร แต่สำหรับบางพื้อนที่ที่เป็นพื่นที่ลุ่มระดับน้าใต้ดินสูงเสมอหรือสูงขึ้นมาเล็กน้อย
        หลังจากนั้นเกลี่ยดินปากหลุมให้เรียบร้อยแล้วเอาไม้ปักทำต้นมะพร้าวเพื่อกัลมโยก ซึ่งสำหรับการปลูกมะพร้าวต้นเตี้ยสีเหลือง หรือ สีแดง ควรมีร่มกันแดดให้ในระยะที่ปลูกใหม่ๆเพราะมะพร้าว 2 ชินดนี้ ไม่ทนต่อสงแดด อาจทำให้ใบไหม้เมื่อถูกแดดจัดๆ

ขอขอบคุณภาพจาก Google

        การดูแลรักษา
        การให้ปุ๋ย สำหรับการให้ปุ๋ยครั้งแรกหลังปลูกจะทำเมื่อมะพร้าวมีอายุได้ 6 เดือน หรือเมื่อ มะพร้าวตั้งต้นได้ดี ใบยอดเริ่มคลี่ออกเป็นต้นไป โดยเลือกใส่ปีละ 2 ครั้ง ซึ่งสำหรับปุ๋ยที่ใช้ สามารถใส่ได้ทั้งปุ๋ยเคมีและปุ๋ยคอก ดังนี้
        ปุ๋ยมูลสัตว์ (ปุ๋ยคอก) เช่น มูลวัว มูลควาย อัตราใส่ 2 ปีบ/ต้น/ปี มูลเป็ด มูลไก่ ควรแบ่งใส่ 2 ครั้ง ครั้งละ 1 ปีบ/ต้น
        ปุ๋ยเคมี แบ่งใส่ทุกๆ 6 เดือน ครั้งแรกในช่วงต้นฝนประมาณเดือนพฤษภาคมเดือนธันวาคมแล้วแต่ฤดูกาลของแต่ละแห่ง โดยปุ๋ยเคมีที่แนะนำให้ใช้คือ ปุ๋ยผสมสูตร 13 : 13 : 21 ร่วมกับปุ๋ยแมกนีเซียมซัลเฟต หรือหินปูนโดโลไมท์ อัตราการใช้ดังนี้
        มะพร้าวอายุ 1 ปี ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 13-13-21 หรือ 12-12-17-2 จำนวน 1 กิโลกรัม/ต้น/ปี แมกนีเซียมซัลเฟต 200 กรัม/ต้น/ปี (ยังไม่ใส่โดโลไมท์)
        มะพร้าวอายุ 2 ปี ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 13-13-21 หรือ 12-12-17-2 จำนวน 3 กิโลกรัม/ต้น/ปี/แมกนีเซียมซัลเฟต  300 กรัม /ต้น/ปี โดโลไมท์ – กิโลกรัม/ต้น/ปี
        มะพร้าวอายุ 4 ปีขึ้นไป ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 13-13-21 หรือ 12-12-17-2 จำนวน 4 กิโลกรัม ต้น/ปี แมกนีเซียมซัลเฟต 500 กรัม /ต้น/ปี โดโลไมท์ 4 กิโลกรัม/ต้น/ปี

        สำหรับปุ๋ยแมกนีเซียมซัลเฟตและหินปูนโดโลไมท์ให้ใช้อย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งถ้าใช้หินปูนโดโลไมท์แนะนำให้หว่านก่อนใส่ปุ๋ยอย่างอื่นอย่างน้อย 1 เดือน หรืออาจเสริมการใส่กลีเซอร์ไรด์หรือเกลือแกงให้มะพร้าว 1 กิโลกรัม/ต้น/ปี เพื่อเพิ่มธาตุคลอไรด์ ช่วยให้มะพร้าวขึ้นอยู่กับผลการวิเคราะห์ดินด้วยจึงจะทำให้การใช้ปุ๋ยได้อย่างมีประสิทธิภาพ กว้าง 12 เซนติเมตร x ลึกประมาณ 10-15 เซนติเมตร x ระยะห่าง (วงด้านใน) จากโคนต้น 100-180 เซนติเมตร จากนั้นเอาปุ๋ยคอกใส่ลงในรางแล้วกลบดิน หรืออีกวิธีหนึ่งคือขุดหลุมขนาด 30 x 30 x 30 เซนติเมตร ห่างจากโคนต้นประมาณ 1.50-2 เมตร ต้นละ 3 หลุม จากนั้นใส่ปุ๋ยลงหลุมแล้วกลบดิน โดยหลุมที่ขุดใส่ปุ๋ยจะต้องเปลี่ยนที่ทุกปีจนกระทั่งวนรอบต้น

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ รดน้ำ ต้นมะพร้าว
ขอขอบคุณภาพจาก Google

        การให้นํ้า จะเลือกใช้วิธีธรรมชาติ คือ ปลูกฤดูฝนรอฝนธรรมชาติ หรือการรดนํ้าขึ้นอยู่กับพื้นที่ปลูก แต่สิ่งสำคัญคือต้องการดูแลให้ดินคงความชุ่มชื่นสม่าเสมอในช่วง 1-3 เดือนแรก และมะพร้าวต้องได้รับนํ้าไม่น้อยกว่า 1,500 มิลลิลิตร/ปี


        ประโยชน์ของมะพร้าว เช่น นํ้ามันมะพร้าว
        วิธีการทำน้ามันมะพร้าวเริ่มด้วยการเตรียมหัวกระทิ แล้วเทลงใส่ภาชนะ เช่น หม้อ กระทะ แล้วนำไปอุ่นทิ้งไว้ด้วยความร้อนประมาน 60-100 องศา 


หลังจากนั้นผ่านไปประมาณ 20-30 นาที จะเกิดการจับตัวเป็นไขคล้ายๆคลีมเป็นไอละอุ


ให้อุ่นทิ้งไว้ประมาณ 6-7 ชั่วโมง ควรอุ่นทิ้งไว้ด้วยตัวถ่านเพราะจะประหยัดกว่าและอยู่ได้นานกว่าแก๊ส ตัดปัญญาเรื่องแก๊สจะหมดไปได้เลย


หลังจากผ่าไปได้ 6-7 ชั่วโมงแล้วเราจะได้น้ามันออกมาในรูปแบบรอยตัวอยู่บนเนื้อครีม ดังภาพ

ขอขอบคุณภาพจาก Google

    แล้วจึงนำมาครั่วผัดต่อจน 2 สิ่งแยกตัวออกจากกัน จึงได้เป็นนํ้ามันมะพร้าว ดังภาพ